Save time 5

Diary notes.

Save time 5 Wednesday Date 15 February 2017


Knowledge.


ประเภทของสถานศึกษาปฐมวัย



5. สถานศึกษาประเภทศูนย์พัฒนาเด็กปฐมวัย

    ความหมายของศูนย์พัฒนาเด็กปฐมวัย

           ศูนย์พัฒนาเด็กปฐมวัย คือ ศูนย์เลี้ยงดูเด็กเล็กให้เจริญเติบโตและมีพัฒนาการทางด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญาที่สมบูรณ์

    
    ศูนย์พัฒนาเด็กปฐมวัย 

          สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล

  • เปิดหลักสูตรวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาชา พัฒนาการมนุษย์
  • ก่อตั้ง สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว 
  • มีการจัดตั้ง “ ศูนย์พัฒนาเด็กปฐมวัย 



โครงการจัดบริการรับเลี้ยงและพัฒนาเด็กกลางวัน ให้บริการรับเลี้ยงเด็กอายุ ๖ เดือน - ๓ ปี โดยแบ่งเด็กออกเป็น ๓ กลุ่มอายุเพื่อจัดกิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการได้เหมาะสม คือ 
           
         กลุ่มเด็กอายุ ๖ เดือน – ๑ ปี ๓ เดือน (ครู/พี่เลี้ยง ๑ คน ต่อเด็ก ๓ คน)
         กลุ่มเด็กอายุ ๑ ปี ๓ เดือน – ๒ ปี (ครู/พี่เลี้ยง ๑ คน ต่อเด็ก ๔ คน) 
         กลุ่มเด็กอายุ ๒ – ๓ ปี (ครู/พี่เลี้ยง ๑ คน ต่อเด็ก ๗ คน)

โครงการอนุบาลสาธิตเพื่อพัฒนาศักยภาพ เปิดรับเด็กอายุตั้งแต่ ๓ ปี - ๖ ปี

          
          มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

  • เปิดหลักสูตร พยาบาลศาสตร์
  • ศึกษาเรื่องการเจริญเติบโตและพัฒนาการของเด็กปฐมวัย
  • ศึกษาเรื่องการบริบาลเด็กปฐมวัย
ภาพบรรยากาศการนำเสนอ รายงานหน้าชั้นเรียน หัวข้อศูนย์พัฒนาเด็กปฐมวัย


6.  สถานศึกษาประเภทศูนย์เด็กเล็ก

      ความหมายของศูนย์เด็กเล็ก

            ศูนย์เด็กเล็ก หมายถึง สถานที่ดำเนินการรับเลี้ยงเด็กอายุต่ำกว่า 6 ปี จำนวนตั้งแต่ 6 คนขึ้นไป โดยผู้ดำเนินการมิใช่ญาติกับเด็กซึ่งอาจมีคำเรียกแตกต่างกันไป เช่น ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ศูนย์รับเลี้ยงเด็กก่อนเกณฑ์และสถานรับเลี้ยงเด็กเป็นต้น ความมุ่งหมายของการพัฒนาศูนย์เด็กเล็กน่าอยู่เพื่อเป็นการยกระดับพื้นฐานชีวิตและความเป็นอยู่ของเด็กปฐมวัยในศูนย์เด็กเล็กทุกคนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี

      ความสำคัญของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก

            เป็นการจัดการอบรมเลี้ยงดูและส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ที่สนองต่อธรรมชาติ และพัฒนาการของเด็ก ให้เด็กมีพัฒนาการทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญาที่เหมาะสมกับวัย ความสามารถและความแตกต่างระหว่างบุคคล เป็นการสร้างรากฐานชีวิตให้เด็กพัฒนาไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ มีคุณค่าต่อตนเองและสังคม ตามปรัชญาการศึกษาปฐมวัยของหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พ.ศ. 2546

       ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตัวอย่าง

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านเตราะบอน

   

           การปูพื้นฐานชั้นบริบาลมีความสำคัญที่จะช่วยพัฒนาศักยภาพของเด็ก สิ่งสำคัญคือการให้ความร่วมมือจากพ่อแม่ผู้กครองที่จะช่วยพัฒนาการศึกษาในพื้นที่ เพื่อต่อยอดและนำพาประเทศชาติไปสู่สันติสุข


     แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม


ภาพบรรยากาศการนำเสนอ รายงานหน้าชั้นเรียน หัวข้อศูนย์เด็กเล็ก

7. สถานศึกษาประเภทโรงเรียนชั้นเตรียมประถม

    ความหมายของโรงเรียนชั้นเตรียมประถม
  
          เด็กมีสิทธิ์เริ่มเข้าชั้นเตรียมประถม เมื่อมีอายุตั้งแต่ 6 ปีขึ้นไป ชั้นเตรียมประถม เป็นการศึกษาอีกประเภทหนึ่ง ที่นำกิจกรรมสร้างสรรค์ และการเล่นเพื่อการเรียนรู้มาใช้เป็นส่วนใหญ่

    ลักษณะของโรงเรียนชั้นเตรียมประถม

            ชั้นเตรียมประถม เป็นการศึกษาเชื่อมต่อจากชั้นอนุบาลไปสู่การศึกษาภาคบังคับหรือขั้นพื้นฐาน โดยจะผสมผสานรูปแบบการดำเนินงานและวิธีการ ระหว่างโรงเรียนอนุบาลและโรงเรียนขั้นพื้นฐานเข้าด้วยกัน ในชั้นนี้ถือว่าการเล่นเป็นเครื่องมือทางการศึกษาอย่างหนึ่ง เด็กจะมีความสุขและรู้สึกสนุกสนานกับการเรียนรู้ เด็กจะทำแบบฝึกหัดง่ายๆ สลับกับการพัก และการเล่นตามอัธยาศัย เด็กๆ จะทานอาหารกลางวันที่โรงเรียนและเลิกเรียนประมาณ 12.00 น. หลังจากนั้นพ่อแม่มีโอกาสที่จะเลือกให้ลูกอยู่ต่อที่ศูนย์นันทนาการหลังเลิกเรียนได้ โดยศูนย์นันทนาการจะจัดกิจกรรมทางการศึกษาและเป็นส่วนเสริมของโรงเรียน ที่เปิดโอกาสให้เด็กๆ ได้เล่น และทำกิจกรรมทางสังคมร่วมกับคนอื่นๆ

            โรงเรียนชั้นเตรียมประถมอยู่ภายใต้การกำกับดูแล ข้อบังคับ ดังนี้
หลักสูตรการศึกษา ซึ่งเป็นหลักสูตรเดียวกับโรงเรียนขั้นพื้นฐาน และศูนย์นันทนาการ สำหรับชั้นเตรียมประถม ที่จัดโดยโรงเรียนการศึกษาเฉพาะ จะมีหลักสูตรการศึกษาเฉพาะกำกับ 
กฏหมายว่าด้วยการศึกษา ประกอบด้วย บทบัญญัติหลักเกี่ยวกับการศึกษาชั้นเตรียมประถม และการศึกษาประเภทอื่น รวมถึงศูนย์นันทนาการและการรับอบรมดูแลเด็ก

       โรงเรียนชั้นเตรียมประถมตัวอย่าง
  • โรงเรียนประถมทู วอเตอร์สในเฮิร์ทฟอดร์ไซร์น ประเทศอังกฤษ
  • โรงเรียนต้นแบบ "เรียนรู้จากการเล่น" โรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร ฝ่ายประถม
ภาพบรรยากาศการนำเสนอ รายงานหน้าชั้นเรียน หัวข้อโรงเรียนชั้นเตรียมประถม


โครงสร้างขององค์กรและการจัดระบบบริหารงานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย




การบริหารสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย มีลักษณะการบริหารเฉพาะตัว ต้องคำนึงถึงสิ่งเหล่านี้เป็นหลัก
ซึ่งการจัดประเภท และรูปแบบสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยในประเทศไทย สามารถแบ่งได้ดังนี้

     1. การจัดแบ่งตามโครงสร้างการบริหารตามขนาด แบ่งเป็น 3 ขนาด คือ
         1) โครงสร้างบริหารสถานศึกษาปฐมวัยขนาดเล็ก
         2) โครงสร้างบริหารสถานศึกษาปฐมวัยขนาดกลาง
         3) โครงสร้างบริหารสถานศึกษาปฐมวัยขนาดใหญ่

รูปแบบโครงสร้างการบริหารสถานศึกษาปฐมวัยขนาดเล็ก

รูปแบบโครงสร้างการบริหารสถานศึกษาปฐมวัยขนาดกลาง


รูปแบบโครงสร้างการบริหารสถานศึกษาปฐมวัยขนาดใหญ่

     2. การแบ่งตามรูปแบบตามพระราชบัญญัติการศึกษาชาติ
         
         ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2545 ได้กำหนดมาตรา 15 ไว้ว่าการจัดการศึกษา มี 3 รูปแบบ คือ
               1) รูปแบบในระบบโรงเรียน
               2) รูปแบบนอกระบบโรงเรียน
               3) รูปแบบตามอัธยาศัย

      3. รูปแบบการให้บริการแบบใหม่
          คือ การรวมเด็กที่ผิดปกติและเด็กปกติไว้ด้วยกัน โดยเรียกแบบนี้ว่า “Normalization”

หลักในการบริหารงานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย
        สถานพัฒนาเด็กปฐมวัยมีหลักในการบริหาร ดังนี้





Teaching methods.
     
     อาจารย์มีการใช้คำถามกระตุ้นให้นักศึกษาคิด เปิดโอกาสให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็น และอธิบายเพิ่มเติมจากคำตอบของนักศึกษา



assessment.

classroom conditions. ห้องโล่ง โปร่ง สะอาด ปลอดภัย ประกอบด้วยจอโปรเจคเตอร์ (projector screen) ขนาดใหญ่หน้าชั้นเรียน เก้าอี้เพียงพอต่อจำนวนนักศึกษา มีเครื่องปรับอากาศที่มีอุณหภูมิพอเหมาะ แต่มีแสงจากภายนอกมากเกินไปทำให้มองเห็นจอโปรเจคเตอร์ไม่ชัดเจน ควรติดตั้งม่านเพื่อปรับแสงได้ตามต้องการ

self. เข้าชั้นเรียนตรงเวลา แต่งกายถูกระเบียบ ใช้ ร ล และคำควบกล้ำได้ถูกต้อง มีการจดบันทึกสรุปเนื้อหาที่อาจารย์สอน และตอบคำถาม แสดงความคิดเห็น


friend. เข้าชั้นเรียนตรงเวลา แต่งกายถูกระเบียบ แสดงความคิดเห็นและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น

professor. อาจารย์ให้ความเป็นกันเอง บริหารเวลาในการสอนได้เหมาะสม การแต่งกายสะอาด และเป็นระเบียบเรียบร้อย พูดเสียงดังชัดเจน เข้าสอนตรงเวลา และเปิดโอกาสให้นักศึกษาซักถาม แสดงความคิดเห็น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น