Save time 4

Diary notes.

Save time 4 Wednesday Date 01 February 2017




Knowledge.


      การนำเสนอคำคม






ความสุขจะเกิดขึ้นได้ ถ้าเราพอใจและพอประมาณในสิ่งที่มี 




ผู้บริหารหรือหัวหน้าที่ดี ต้องทำงานเป็นด้วย ไม่ใช่รอสั่งลูกน้องให้ทำอย่างเดียว




หากเราคิดใหม่ ทำใหม่ ความสำเร็จก็จะเกิดขึ้นได้




อย่าเพิ่งหมดหวัง หรือสิ้นหวังไปก่อน เพราะทุกปัญหาย่อมมีหนทางให้เราแก้ไข




แต่ละคนมีความสามารถที่แตกต่างกัน การทำงานเป็นทีมและรับหน้าที่ตามความสามารถย่อมทำให้องค์กรสำเร็จลุล่วงตามเป้า



          
ประเภทของสถานศึกษาปฐมวัย

          ปัจจุบันมีสถานศึกษาเกิดขึ้นมากมายหลายแห่งเพื่อตอบสนอง และเป็นทางเลือกแก่พ่อแม่ผู้ปกครองที่มีบุตรหลาน และยังถือกำเนินขึ้นเพื่อรองรับ ส่งเสริมและสนับสนุนเด็กทุกประเภท ซึ่งสถานศึกษาปฐมวัยได้จัดประเภทของสถานศึกษาไว้ดังนี้


1. สถานศึกษาประเภทโรงเรียนอนุบาล

    ความหมายของโรงเรียนอนุบาล 

       พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ โรงเรียนอนุบาล เป็นสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ระดับก่อนประถมศึกษารับเด็กที่มีอายุ 4 – ก่อน 7 ปี
      
       โรงเรียนอนุบาล หรือ Kindergarten แปลตรงตัวว่า “Children’s garden หมายถึง “สวนเด็ก เป็นสถานศึกษาก่อนวัยเรียน (Pre-school) 

     รูปแบบของรร.อนุบาล

         มีรูปแบบการจัด ลักษณะคือ

1. ชั้นอนุบาล เป็นการจัดการศึกษาเพื่อส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการครบทุกด้านทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา รวมทั้งลักษณะนิสัยต่างๆโดยใช้ระยะเวลาในการจัดการศึกษาประมาณ 2 - ปี สำหรับเด็กที่มีอายุระหว่าง 3 - ปี

2. ชั้นเตรียมประถมศึกษาหรือชั้นเด็กเล็ก เป็นการจัดการศึกษาเพื่อเตรียมความพร้อมให้เด็กก่อนเข้าเรียนในระดับชั้นประถมศึกษา โดยใช้ระยะเวลาในการจัดการศึกษา ปีสำหรับเด็กที่มีอายุระหว่าง 5 - 6 ปี

       หน่วยงานที่ให้การศึกษาในระบบโรงเรียน
                  
                1. โรงเรียนอนุบาลของรัฐ หน่วยงานของรัฐที่ดูแลรับผิดชอบการจัดโรงเรียนในระดับชั้นอนุบาลและชั้นเด็กเล็กได้แก่ กระทรวงศึกษาธิการ ทบวงมหาวิทยาลัย สำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม

                2. โรงเรียนอนุบาลของเอกชน จะอยู่ในความดูแลของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชนกระทรวงศึกษาธิการ เอกชนเป็นเจ้าของรับผิดชอบจัดการศึกษา
          ซึ่งแต่ละหน่วยงานมีลักษณะการจัด  ดังนี้  
1.      
           1. โรงเรียนอนุบาลของรัฐ

1.1  โรงเรียนอนุบาลของรัฐที่อยู่ในความดูแลของกระทรวงศึกษาธิการ มีหน่วยงานที่รับผิดชอบการจัดการศึกษาคือ
1)      โรงเรียนอนุบาลของรัฐที่อยู่ในความรับผิดชอบของสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ ได้แก่ โรงเรียนอนุบาลประจำจังหวัด และโรงเรียนประถมศึกษาที่อยู่ในหมู่บ้าน จะรับเด็กอายุระหว่าง 4 - ปี เข้าเรียนในชั้นอนุบาลมีหลักสูตร ปี คือ ชั้นอนุบาลศึกษาปีที่ และชั้นอนุบาลปีที่ หรือรับเด็กชายหญิงอายุ 5 - ปีเข้าเรียนในชั้นเด็กเล็กหลักสูตร ปี
2)      โรงเรียนอนุบาลสาธิตของสถาบันราชภัฎ จัดการศึกษาปฐมวัยขึ้นเพื่อเตรียมความพร้อมของเด็กก่อนเข้าเรียนในระดับประถมศึกษา และเพื่อแบ่งเบาภาระของอาจารย์และข้าราชการในสถาบัน ใช้เป็นแหล่งฝึกงานสำหรับนักศึกษาวิชาเอกการศึกษาปฐมวัย และเป็นแหล่งศึกษาเกี่ยวกับความเจริญเติบโตและพัฒนาการของเด็ก ส่วนใหญ่จะรับเด็กอายุตั้งแต่ 3 - ปี เข้าศึกษาในหลักสูตรอนุบาล ปี จะมีบางแห่งที่รับเด็กอายุ 4-6 ปี เข้าศึกษาโดยมีหลักสูตร ปี
3)       โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์สังกัดกองการศึกษาพิเศษกรมสามัญศึกษา เป็นโรงเรียนที่จัดการศึกษาสำหรับเด็กขาดโอกาสที่จะเรียนในโรงเรียนปกติ ได้แก่เด็กชาวป่า เด็กชาวเขา เด็กชาวเรือ เด็กชาวเกาะ เด็กที่อยู่ในท้องถิ่นกันดารหรือมีปัญหาทางสภาพภูมิศาสตร์ เด็กยากจนที่ไม่สามารถเข้าเรียนในโรงเรียนปกติ เด็กกำพร้าบิดาหรือมารดาขาดผู้อุปการะ คือ เด็กที่ขาดโอกาสทางการศึกษา การจัดการศึกษาจัดอยู่ในลักษณะหลักสูตรอนุบาล ปี หรือหลักสูตรชั้นเด็กเล็ก ปี

             1.2 โรงเรียนอนุบาลของรัฐที่อยู่ในความดูแลของทบวงมหาวิทยาลัย ดำเนินงานการจัดการศึกษาในโรงเรียนสาธิตของมหาวิทยาลัย โดยชั้นอนุบาลจะให้การศึกษาแก่เด็กอายุ 3-6 ปี ในรูปแบบของชั้นอนุบาลในโรงเรียนสาธิตสังกัดมหาวิทยาลัยต่างๆใช้เวลาในการจัด ถึง ปี ในลักษณะเดียวกับโรงเรียนอนุบาลทั่วไป โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อประโยชน์ในการศึกษาค้นคว้าในด้านการเรียนการสอน

             1.3 โรงเรียนอนุบาลของรัฐที่อยู่ในความดูแลของสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แก่โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน สังกัดกองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน สํานักงานตํารวจแห่งชาติรับผิดชอบในการจัดการศึกษาให้ประชาชนที่อยู่ในท้องถิ่นห่างไกลการคมนาคมไม่สะดวก ดำเนินการจัดการศึกษาปฐมวัยในระบบโรงเรียนให้แก่เด็กอายุ 3 - 6 ปี ในหลักสูตรอนุบาลศึกษา ปีและหลักสูตรชั้นเด็กเล็ก ปี เป็นการเตรียมความพร้อมให้แก่เด็กก่อนเข้าเรียนในระดับประถมศึกษาเพื่อส่งเสริมการศึกษาแก่ประชาชนที่ยากจนไกลการคมนาคม และส่งเสริมสุขภาพอนามัย ตลอดจนโภชนาการที่ถูกต้องในเด็ก

             1.4 โรงเรียนอนุบาลของรัฐที่อยู่ในความดูแลของกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมได้แก่โรงเรียนที่อยู่ในความดูแลของกรมประชาสงเคราะห์ ซึ่งจัดการศึกษาปฐมวัยให้แก่เด็กอายุ 3 - ปีในโรงเรียนหมู่บ้านชาวไทยต่างวัฒนธรรมและโรงเรียนในสถานสงเคราะห์เด็ก เป็นการดูแลเด็กกำพร้าหรือเด็กถูกทอดทิ้งโดยมุ่งหวังให้เด็กได้รับการพัฒนาทางด้านร่างกาย จิตใจอารมณ์ สังคมและสติปัญญาโดยการเลี้ยงดูแก้ไขปัญหาให้การศึกษาเพื่อให้เด็กเติบโตเป็นพลเมืองที่มีคุณภาพของประเทศ จัดหลักสูตรอนุบาล ปีหรือหลักสูตรชั้นเด็กเล็ก ปี

             1.5 โรงเรียนอนุบาลของรัฐที่อยู่ในความดูแลขององค์การบริหารส่วนท้องถิ่นได้แก่
        1) โรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร รับผิดชอบจัดการศึกษาในเขตกรุงเทพ เริ่มเปิดดำเนินการสอนชั้นเด็กเล็กหลักสูตร ปีในโรงเรียนประถมศึกษาแต่ในปัจจุบันส่วนใหญ่จะเปิดรับเด็กเข้าเรียนในหลักสูตรอนุบาล ปี มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมพัฒนาการเด็กในด้านต่างๆ รวมทั้งเป็นการเตรียมความพร้อมให้แก่เด็กก่อนเข้าเรียนในชั้นประถมศึกษา
        2) โรงเรียนสังกัดเทศบาลอยู่ในความดูแลของสำนักงานการศึกษาท้องถิ่น เป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการจัดการศึกษาระดับอนุบาลศึกษาให้แก่เด็กวัย 4 - 6 ปีหรือวัยก่อนเกณฑ์การศึกษาภาคบังคับในเขตเทศบาลและเมืองพัทยาโดยจัดหลักสูตรอนุบาล ปีและหลักสูตรเด็กเล็ก ปี
         
          2. โรงเรียนอนุบาลของเอกชน จัดการศึกษารับเด็กอายุ 3 - ปี โดยจัดหลักสูตรอนุบาล ปี คือ
    อนุบาล 3 -  ระดับชั้นอนุบาลปีที่ 1
    อนุบาล 4 - 5  ระดับชั้นอนุบาลปีที่ 2
    อนุบาล 5 - 6  ระดับชั้นอนุบาลปีที่ 3

       โรงเรียนตัวอย่าง  

 รร.อนุบาลเด่นหล้า



            อนุบาลเด่นหล้าจัดระบบการเรียนการสอนแบบบูรณาการ โดยประยุกต์วิชาการ และกิจกรรมเข้าด้วยกันอย่างสมดุล เปิดการเรียนการสอน 2 หลักสูตร หลักสูตรบูรณาการ (Denla Integrated Program: D.I.P.) มีการผสมผสานความรู้และทักษะในกิจกรรมต่างๆ เพื่อพัฒนานักเรียนให้มีความพร้อมทั้ง 4 ด้าน มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ เป็นคนดี เก่ง มีความสุข มีความรู้ ความสามารถในการเรียนชั้นสูงต่อไป

     เว็ปไซต์โรงเรียน 


2. สถานศึกษาประเภทศูนย์พัฒนาเด็กเล็กก่อนเกณฑ์ของสถาบันศาสนา

    ความหมายของศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียน

         •ศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียน หมายความว่า สถานที่รับเลี้ยงเด็กและดูแลเด็กก่อนวัยเรียน ซึ่งตั้งอยู่ในชุมชน และดำเนินงานในรูปของคณะกรรมการภายใต้การควบคุมดูแลของคณะกรรมการชุมชน
         •เด็กก่อนวัยเรียน หมายความว่า เด็กที่มีอายุตั้งแต่ 2 ปี แต่ไม่เกิน 6 ปี
                 สถานพัฒนาเด็กปฐมวัย ได้แก่ ศูนย์เด็กเล็ก ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ศูนย์พัฒนาเด็กก่อนเกณฑ์ของสถาบันศาสนา ศูนย์บริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่มของเด็กพิการและเด็กซึ่งมีความต้องการพิเศษ หรือสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยที่เรียกชื่ออย่างอื่น
    
    ศูนย์พัฒนาตัวอย่าง
ศาสนาพุทธ
         ศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์วัดศรีบุญเรือง


ให้การศึกษาพัฒนา เด็กในทุกๆ ด้าน เตรียมความพร้อม เรียนรู้ทักษะ วิชาต่างๆ ด้วยการบูรณาการผสมผสานและการทำกิจกรรมต่างๆ  เด็กจะได้รับการฝึกฝนในการสร้างจิตใจที่ดีงามจนกลายเป็นนิสัยที่ดีต่อไปในอนาคต เด็กจะได้รับการพัฒนาทั้งร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา

ศาสนาอิสลาม
        ศูนย์อบรมเด็กเล็กก่อนเกณฑ์ประจำมัสยิดเกาะนกคอม

          
       มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้มีความพร้อมทั้ง 4 ด้าน มีสุขภาพกาย สุขภาพจิต สุขนิสัยที่ดี และมีสุนทรียภาพทางด้านศิลปะ ดนตรี และการเคลื่อนไหว มีความรับผิดชอบ มีระเบียบวินัย ซื่อสัตย์ รักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ รักความเป็นไทย รักธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม มีความสามารถในการใช้ภาษาในการสื่อสาร คิดและแก้ปัญหาได้เหมาะสมตามวัย และอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข

ศาสนาคริสต์

          สถานรับเลี้ยงเด็กรักนิรันดร์เนอสเซอรี่


ปรัชญา : มอบความรักความอบอุ่น ส่งเสริมทักษะ ระเบียบวินัย และมารยาทเบื้องต้นตามหลักคำสอนของคริสเตียน
วิสัยทัศน์ : เด็กอบอุ่น พัฒนา 4 ด้าน มีทักษะ ระเบียบวินัย มารยาทสมวัย พร้อมสู่โลกกว้าง

  
3. สถานศึกษาประเภทสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย หรือ Nursery

    ความหมาย
         เนอร์สเซอรี่ คือ สถานที่รับเลี้ยงดูเด็กเล็กก่อนวัยอนุบาล ซึ่งเรา สามารถเรียกว่าเป็น “สถานรับเลี้ยงเด็ก” โดยส่วนใหญ่จะรับ เลี้ยงดูเด็กเล็กอายุแรกเกิดถึง 3 ขวบ แต่บางแห่งอาจรับเฉพาะใน ระดับ 2-3 ขวบ คือระดับ “เตรียมอนุบาล” และบางแห่งอาจรับดูแล เด็กอายุแรกเกิดถึง 6 ขวบ (เตรียมประถม)

    ความหมายสำคัญ
          เป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบต่อสถานศึกษาให้กับเด็กแรกเกิด -6ปีเป็นการให้ การศึกษาช่วงแรกของชีวิตรองจากครอบครัว โดยเป็นหน่วยปฏิบัติการที่ทำหน้าที่พัฒนาเด็กตามแนวทางและนโยบายของชาติในการพัฒนาเด็กสู่การปฏิบัติที่เป็นรูปธรรม

     ความแตกต่างระหว่างสถานรับเลี้ยงเด็กหรือเนอร์สเซอรี่กับโรงเรียนอนุบาล   



สถานพัฒนาตัวอย่าง

โรงเรียนบ้านรักเนอร์เซอรี่


การจัดกิจกรรมประจำวันเป็นไปตามหน่วยการเรียนรู้ที่เด็กเรียน ซึ่งกิจกรรมประจำวันประกอบด้วยกิจกรม ดังนี้
1 กิจกรรมเด็กดีมีสุข
2 กิจกรรมสนุกกับของเล่น
3 กิจกรรมร้องเต้นออกกำลังกาย
4 กิจกรรมเพิ่มพลังปัญญา
5 กิจกรรมหรรษาสร้างสรรค์
6 กิจกรรมสานฝันกับนิทาน

4. สถานศึกษาประเภทศูนย์พัฒนาเด็กเล็กก่อนวัยเรียน

    ความหมาย
        สถานที่รับเลี้ยงเด็กและพัฒนาเด็กที่มีอายุไม่เกินหกปีบริบูรณ์ และมีจำนวนตั้งแต่หกคนขึ้นไป ซึ่งเด็กไม่เกี่ยวข้องเป็นญาติกับเจ้าของหรือผู้ดำเนินการสถานรับเลี้ยงเด็กดังกล่าว ทั้งนี้ ไม่รวมถึงสถานพยาบาลหรือโรงเรียนของรัฐและเอกชน (พรบ.คุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546)

    ความสำคัญ
         พัฒนางานบริการในการเลี้ยงดูเด็กให้มีมาตรฐาน และคุณภาพเพื่อส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการที่เหมาะสมกับวัย และเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่ดีในอนาคต

            ศูนย์พัฒนาตัวอย่าง


งานบริการศูนย์
  •       การเลี้ยงดู เตรียมความพร้อมด้านร่างกาย อารมณ์-จิตใจ สังคม และสติปัญญา ให้เด็กมีพัฒนาการที่เหมาะสมกับวัย และศักยภาพของเด็ก
  •       ตรวจประเมินการเจริญเติบโตรวมทั้งพัฒนาการของเด็กอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ
  •       ให้คำแนะนำในด้านสุขภาพการป้องกันโรคการดูแล และแนวทางในการเลี้ยงดูบุตร แก่ บิดา มารดา
  •       ให้คำแนะนำแก่มารดาที่มีปัญหาเกี่ยวกับการให้นมบุตร การพัฒนาการและสุขภาพเด็ก โดยผู้เชี่ยวชาญจากคลินิกเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
  •       ให้คำแนะนำแก่มารดาที่มีปัญหาเกี่ยวกับการให้นมบุตร การพัฒนาการและสุขภาพเด็ก โดยผู้เชี่ยวชาญจากคลินิกเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ คลินิกกระตุ้นพัฒนาการและกุมารแพทย์ของคณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล
  •       บริการอาหารเช้าอาหารกลางวัน พร้อมอาหารว่างมื้อบ่าย โดยมีโภชนาการจากฝ่ายโภชนาการของโรงพยาบาลศิริราช เป็นผู้จัดการอาหารร่วมกับพยาบาล และคณะกรรมการศูนย์


skills.
        เด็กทุกคนมีโอกาสที่จะได้รับการศึกษาอย่างเท่าเทียมกัน การพัฒนาคนให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์นั้น จะต้องพัฒนาตั้งแต่วัยเด็ก สถานศึกษาปฐวัยจึงควรให้ความตระหนัก และกำหนดแนวทางเพื่อส่งเสริมสนับสนุนให้เด็กเกิดการเรียนรู้ที่หลายหลายสอดคล้องกับพัฒนาการ และความแตกต่างระหว่างบุคคล
        
        การนำไปใช้
1. ศึกษา ทำความเข้าใจถึงหลักการของสถานศึกษาแต่ละประเภท เพื่อประโยชน์ในการจัดการศึกษาในอนาคต
2. หมั่นติดตามข้อมูล ข่าวสารที่เกี่ยวกับสถานศึกษาให้มีความรู้ และมีข้อมูลที่ถูกต้องทันสมัย
3. ยึดเป็นแนวทางในกำหนดหลักการ หรือจัดประสบการณ์ให้สอดล้องกับพัฒนาการของเด็ก


Teaching methods.
     
     อาจารย์มีการใช้คำถามกระตุ้นให้นักศึกษาคิด เปิดโอกาสให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็น และอธิบายเพิ่มเติมจากคำตอบของนักศึกษา



assessment.

classroom conditions. ห้องโล่ง โปร่ง สะอาด ปลอดภัย ประกอบด้วยจอโปรเจคเตอร์ (projector screen) ขนาดใหญ่หน้าชั้นเรียน เก้าอี้เพียงพอต่อจำนวนนักศึกษา มีเครื่องปรับอากาศที่มีอุณหภูมิพอเหมาะ แต่มีแสงจากภายนอกมากเกินไปทำให้มองเห็นจอโปรเจคเตอร์ไม่ชัดเจน ควรติดตั้งม่านเพื่อปรับแสงได้ตามต้องการ

self. เข้าชั้นเรียนตรงเวลา แต่งกายถูกระเบียบ ใช้ ร ล และคำควบกล้ำได้ถูกต้อง มีการจดบันทึกสรุปเนื้อหาที่อาจารย์สอน และตอบคำถาม แสดงความคิดเห็น


friend. เข้าชั้นเรียนตรงเวลา แต่งกายถูกระเบียบ แสดงความคิดเห็นและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น

professor. อาจารย์ให้ความเป็นกันเอง บริหารเวลาในการสอนได้เหมาะสม การแต่งกายสะอาด และเป็นระเบียบเรียบร้อย พูดเสียงดังชัดเจน เข้าสอนตรงเวลา และเปิดโอกาสให้นักศึกษาซักถาม แสดงความคิดเห็น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น